จากการเล่นพื้นฐานต่าง ๆ ของซูโดะกุแบบปกติแล้ว นอกจากนี้ ยังมีลูกเล่นต่าง ๆ ของซูโดะกุทำให้เพิ่มลูกเล่นมากขึ้น และมีรูปแบบต่าง ๆ คือ
ขอบเขตการเติมตัวเลข ตารางซูโดะกุแบบมาตรฐาน จะเป็นแบบ 9x9 นอกจากนี้ ยังมีตารางขนาดที่ต่างไปคือ แบบ 4x4 6x6 12x12 16x16 และ 25x25 ในแบบ 4x4 และ 6x6 นั้น เป็นตารางซูโดะกุที่ง่ายและเพื่อทำความเข้าใจในการเล่นพื้นฐานสำหรับเด็กและผู้ที่เริ่มเล่น ตาราง 4x4 จะต้องเติมตัวเลข 1-4 โดยไม่ซ้ำกัน ถ้าเป็น 6x6 จะเติมตัวเลข 1-6 โดยไม่ซ้ำกัน สำหรับตารางที่ใหญ่กว่า 9x9 ก็จะต้องเติมจำนวนตัวเลขที่มากขึ้น โดยไม่ซ้ำกันทั้งแนวตั้ง แนวนอน และตารางย่อย และขนาดมีสูงสุดถึง 49x49
ซูโดะกุเอกซ์ (Sudoku X) เป็นตารางซูโดะกุที่คล้ายกับกติกาแบบปกติทุกอย่างแล้ว นอกจากจะเติมเลขให้แนวตั้ง แนวนอน และตารางย่อยไม่ให้ซ้ำกันแล้ว ยังต้องเติมเลขแนวทแยงที่ตัดผ่านตาราง (เป็นรูปตัว X) โดยไม่ให้ซ้ำกันอีกด้วย
ซูโดะกุคู่คี่ (Evnt/Odd Sudoku) เป็นตารางซูโดะกุที่มีการแรเงาเป็นช่องโดยแยกชัดว่า ช่องที่ถูกแรเงานั้นต้องเติมเป็นเลขคู่หรือเลขคี่ แล้วแต่ตามกติกาที่กำหนด
ซูโดะกุบวกเลข หรือ คิลเลอร์ซูโดะกุ (Killer Sudoku) เป็นซูโดะกุที่รวมกับคักกุโระเข้าด้วยกัน ในตาราง จะมีช่องตามสีหรือเส้นประและมีตัวเลขจำนวนหนึ่งอยู่บนมุมซ้ายของเส้นประ ซึ่งแสดงว่า เลขที่เติมในรอบเส้นประ (2 ช่องขึ้นไป) จะต้องรวมกันให้ได้เลขที่อยู่ด้านบน เช่น เส้นประที่ล้อมรอบสองช่อง โดยมีเลข 3 กำกับ หมายความว่า สองช่องที่มีเส้นประล้อมรอบอยู่จะต้องเติมเลข 1 กับ 2 ซึ่งเท่ากับ 3 ซูโดะกุรูปแบบนี้ก็คล้าย ๆ กับซูโดะกุแบบปกติ แต่มีการคำนวณมาเกี่ยวข้อง
ซูโดะกุมากกว่า/น้อยกว่า (Comparison Sudoku) มีลักษณะที่แสดงเครื่องหมายมากกว่าหรือน้อยกว่าตรงเส้นตาราง โดยที่ต้องเติมตัวเลขให้มากกว่าหรือน้อยกว่าช่องถัดไป
จิ๊กซอว์ซูโดะกุ (Jigzaw Sudoku) กรอบตารางที่ใส่เลข 1-9 จะเป็นรูปที่บิดเบือนคล้ายกับชินส่วนของจิ๊กซอว์ หมายความว่า กรอบตารางที่บิดเบือนจะต้องเติมเลข 1-9 โดยไม่ซ้ำกัน
ไฮเพอร์ซูโดะกุ (Hypersudoku) ภายในตารางจะมีช่องแรเงา 9x9 ข้ามเส้น โดยมีกติกาว่า ตารางแรเงา 9x9 ก็ต้องเติมเลข 1-9 โดยไม่ซ้ำกันเช่นกัน
ซูโดะกุแบบตารางซ้อน เป็นตาราง 9x9 2-5 ตารางทับซ้อนกัน โดยส่วนที่ทับซ้อนจะเป็นคำตอบเดียวกันกับตารางที่ทับซ้อนกันอยู่ ซูโดะกุแบบตารางซ้อนนี้เป็นที่รู้จักในชื่อของ "ซามูไร ซูโดะกุ" (Samurai Sudoku)
1 ความคิดเห็น:
ใหนเฉลยของมึง
แสดงความคิดเห็น